วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ใบงานที่3 (คำสั่ง DOS)


ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command)
 
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:]หมายถึงDrive เช่น A:, B:
[path]หมายถึงชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename]หมายถึงชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext]หมายถึงส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง

 
2. ชื่อไดเรคตอรี่ย่อย [path]
3. ชื่อไฟล์ [filename] ต้องเป็นภาษาอังกฤษหรือเลขอารบิค มีไม่เกิน 8 ตัวอักษร ห้ามเว้นวรรค ห้ามใช้เครื่องหมายอื่นใด ( ปัจจุบันเครื่องที่เป็น Windows95/98 สามารถตั้งชื่อไฟล์ได้ 255 ตัวอักษร และสามารถตั้งเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ) 4. ส่วนขยายหรือนามสกุล [.ext] ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
  ขณะนั้น CLS (CLEAR SCREEN)
รูปแบบ : DATE
รูปแบบ : CLS
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
    1. คำสั่งลบข้อมูลบนจอภาพ
    2. คำสั่ง แก้ไข วัน เดือน ปี
DATE
    • เมื่อขึ้น C: ให้พิมพ์ DATE กด Enter
    • พบข้อความว่า Current date is jan 03-19-2001
    • ป้อนให้ถูกต้องตรงตามวันที่ปัจจุบัน
    3.    คำสั่งแก้ไขเวลา รูปแบบ : TIME
TIME
    • กรณีเดียวกันกับ วัน เดือน ปี
    • พบข้อความว่า Current time is 11:10:20
    • ป้อนให้ถูกต้องตรงตามเวลาปัจจุบัน
    4.   คำสั่ง ดูรุ่น หมายเลข ( Version ) ของดอส รูปแบบ : Ver
 
                     VER (VERSION)
    5.    การเปลี่ยน Drive
        -     จาก A:\ เป็น C:\ ให้พิมพ์ C: กด Enter
   
     -     จะขึ้น C:\
    6.    คำสั่ง ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิสก์ รูปแบบ : DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
            DIR (DIRECTORY)
            /p
    7.    คำสั่ง COPY
            ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทางอาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ เช่น
            A:> COPY DATA.DAT C: BAT.DAT                หมายถึง การสั่งให้นำสำเนาแฟ้มต้นฉบับจาก ดิสเกต Drive A: ที่มีชื่อแฟ้มว่า DATA.DAT มาทำสำเนาให้ปรากฏใน Drive B: ที่มีชื่อแฟ้มว่า BAT.DAT
    8.    การใช้เครื่องหมาย ? และ * ในชื่อไฟล์ ใช้แทนตัวอักษรอะไรก็ได้ 1 ตัวอักษร ในตำแหน่งที่อยู่ใน
                W?? M     หมายถึง ชื่อไฟล์ที่มี W ขึ้นหน้า ตามด้วยตัวอักษรอะไรก็ได้ 2 ตัว และตามด้วย M
               เครื่องหมาย * ใช้แทนตัวอักษรอะไรก็ได้ ยาวเท่าใดก็ได้ เช่น *.* ชื่อไฟล์อะไรก็ได้ นามสกุลอะไรก็ได้ เช่น
           
DIR S*
หมายถึง แสดงชื่อไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร S หรือ
           
DIR ?O*
หมายถึง แสดงชื่อไฟล์ ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรอะไรก็ได้ตามด้วย O แล้วต่อท้ายด้วยอักษรอะไรก็ได้
           
A:\ COPY*.* B:
หมายถึง ให้ทำสำเนาแฟ้มไปสู่ Drive B:
   
            A:\COPY C*.* B: หมายถึง ให้ทำสำเนาจากแฟ้มต้นฉบับ ใน Drive A: โดยเลือกเฉพาะแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นว่า C ทุกไฟล์ เช่น CAT.DAT, CAR.DOC เป็นต้น

            ?
    9.    คำสั่ง DEL หรือ Erase
คือ การลบแฟ้มข้อมูล รูปแบบ: DEL
ตัวอย่าง เช่น

C:\DEL A:\DATA.DOC
10. คำสั่ง RENAME
กด Enter หมายความว่า ต้องการลบไฟล์ที่มีชื่อว่า DATA จากDrive A: มีผลทำให้ไฟล์ดังกล่าวหายไปจากแผ่นดิสก์
                                         คือ การเปลี่ยนชื่อไฟล์ รูปแบบ: REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]] ตัวอย่างเช่น
                              
REN A: DATA MEETING.DOC SILVER.DOC
         
                            หมายถึง เปลี่ยนชื่อจาก Drive A: แฟ้ม DATA ชื่อไฟล์ MEETING.DOC เป็น SILVER.DOC แทน

  การจัดการ Directory เป็นการจัดการไฟล์ข้อมูล แนวคิดต้นไม้ มีดังนี้ MD ( MKDIR) คือการสร้างกิ่งต้นไม้ ตัวอย่างเช่น
                                    - คำสั่ง
    A:\MD Sheet คือ การสร้าง Directory ชื่อ Sheet ไว้ที่ Drive A เมื่อใช้คำสั่ง DIR ดูจะเห็น Directory ดังกล่าว
                - คำสั่ง CD (CHDIR) คือ การเปลี่ยนตำแหน่งของกิ่งต้นไม้ หรือ Directory ที่เราต้องการเข้าไป เช่น

                - คำสั่ง RD
                       A:\RD DATA คือ การลบ Directory ที่เราได้สร้างไว้ ใน Drive A: หากมี Directory ดังกล่าวจะขึ้นข้อความว่า
Invalid path,not directory,
  1. หากเราจะลบ Directory นั้นก็จะต้องลบไฟล์ข้อมูลในนั้นก่อน โดยใช้คำสั่ง DIR เพื่อดูว่ามีไฟล์อะไรบ้าง เช่น

    TEST.DOC
    ALL FILES.HTM
    A:\DATA>DIR กด ENTER ซึ่งจะแสดงข้อมูลทั้งหมดใน Directory ที่ชื่อ DATA ออกมา เช่น เรามีแฟ้มข้อมูลใน Directory ชื่อ DATA 2 แฟ้ม คือ
    A:\CD DATA กด ENTER
  2. สามารถใช้คำสั่งลบ แฟ้มได้ดังนี้
    All files in directory will be deleted!
    Are you sure (Y/N)?
    A:\>DATA>DEL*.* กด ENTER ซึ่งจะได้ข้อความดังนี้
  3. ตอบ N คือ ไม่ต้องการลบไฟล์ ตอบ Y คือ ต้องการลบไฟล์ทั้งหมดใน Directory นี้ ในที่นี้เราต้องการลบ ตอบ Y กด ENTERเมื่อ ใช้คำสั่ง DIR จะไม่พบแฟ้มข้อมูลทั้งสองแล้ว
  4. จากนั้นใช้คำสั่ง CD\ ซึ่งเป็นคำสั่งเปลี่ยน Directory ออกมาที่ Root Directory
    A:\>
    A:\>DATA>CD\
  5. แล้วจึงสามารถลบ Directory DATA ได้ โดยใช้คำสั่ง RD A:\>RD DATAผลคือ Directory DATA ถูกลบออกไปจากแผ่นดิสก์ เมื่อใช้คำสั่ง DIR จะไม่สามารถมองเห็น
  6. คำสั่ง เข้าสู่ Root Directory ใช้คำสั่ง CD\ เช่น
    C:\
    C:\Windows\temp>CD\ กด ENTER ผลคือ
  7. คำสั่งออกจาก Directory ย่อย ใช้คำสั่ง CD.. เช่น

          C:\Windows> ถ้าพิมพ์ CD.. อีกครั้ง
          C:\Windows>CD.. กด ENTER ผลคือ
          C:\>
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว

    1. คำสั่ง Format
    2. คือ การเตรียมแผ่นดิสก์ที่ซื้อมาใหม่ก่อนการใช้งาน เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลหรือเก็บโปรแกรมได้ โดยจะมีโปรแกรมที่ชื่อว่า Format.com         ซึ่งจะใช้ในการสร้าง Track และ Sector บนแผ่นดิสก์ เพื่อที่จะได้นำแฟ้มมาบันทึกบนแผ่นดิสก์ได้
                    Format
การ Format แผ่นใหม่ มีดังนี้
      1. C:\Format A:\
      2. C:\>Format A:/S
      3. สำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว ชนิด HD สำหรับแผ่น 3.5 ชนิด HD ให้เป็น DOS โดยการคัดลอกไฟล์ระบบเข้าไปยังแผ่น A ทำให้แผ่นดิสก์ สามารถ Boot ได้นั่นเอง
                2. คำสั่ง DISKCOPY
      1. ถ้าเครื่องไม่มีฮาร์ดดิสก์ ให้ใส่แผ่น DOS ที่มีไฟล์ DISKCOPY.COM ใน Drive A:
      2. ให้พิมพ์คำสั่ง C:\DISKCOPY A: กด Enter เครื่องจะบอกให้ใส่แผ่นต้นฉบับ
      3. ใส่แผ่นต้นฉบับใน Drive A: กด Enter รอสักครู่เครื่องจะบอกให้เรานำแผ่นต้นฉบับออก
      4. ให้ใส่แผ่นสำเนาลงไป กด Enter
      5. เครื่องจะถามการตั้งชื่อให้ กด Enter
      6. เครื่องจะถามว่าจะ DISKCOPY ต่อไปหรือไม่
      7. ตอบ Y คือ ตกลง ตอบ N คือ ไม่ตกลง
    คือ คำสั่งที่ใช้ในการทำสำเนาแฟ้มทั้งแผ่นไปสู่ดิสเกตอีกแผ่นที่ต้องการ โดยต้องเป็นแผ่นดิสก์ ชนิดเดียวกัน ขนาดเดียวกัน ทำได้ดังนี้

  1. ใส่แผ่นดิสก์ไปใน Drive ให้ดูว่าแผ่นขนาดใด ชนิดใด

  2. ให้พิมพ์สูตรตามชนิดของแผ่น แล้ว กด Enter

  3. คำสั่งภายนอก เป็นคำสั่งที่ไม่อยู่ในเครื่อง เวลาใช้ต้องเรียกจากแผ่น DOS ตัวอย่างคำสั่ง
     
    คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)
              C:\Windows\temp>CD.. กด ENTER ผลคือ
    Or directory not empty
    ตัวอย่างการลบ Directory
    (RMDIR) คือ การลบกิ่งต้นไม้ หรือ ไฟล์ข้อมูล ตัวอย่างเช่น
                                               A:\CD INFORMATION คือ การเข้าไปใน Directory ที่มีชื่อว่า INFORMATION
    หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ1หน้าจอภาพถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ
                /w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
    1. Drive [d :] ที่เราใช้งาน ได้แก่ A: B: C: หรือ D:

    ใบงานที่3(2) (การติดตั้งwindows 7)

    การลง windows 7

     
    สิ่งที่ต้องเตรียม
    1. แผ่น windows 7 ตาม Edition ของท่าน
    2. คอมพิวเตอร์ PC / Notebook
    3. USB ถ้าหากต้องการ Load driver บางตัวสำหรับ Harddisk
    วิธีการลงดังนี้ครับ
    1. ใส่แผ่น Windows7 ลงใน CD-Rom จากนั้นทำการ Boot Computer
    เมื่อเห็นข้อความดังกล่าวดังรูป ให้กด Enter 1ครั้งเพื่อเป็นการเข้าสู้หน้าต่างของการลง Windows7
    ** ในการปรับให้ให้ Bios นั้น Boots จากแผ่้นเป็นอันดับแรก
    -โดยส่วนมาก PC จะกด del / . เข้าไปทำการเซ็ตค่า
    - Notebook ส่วนมากจะกด F2 หรือให้สังเกตุดีๆตอนที่คอมพิวเตอร์Boot มันจะบอกอยู่
    -แต่ถ้าเราต้องการกดใช้ Boot menu เลย ทั้ง Notebook / pc ส่วนมากจะกด F12 , F10 ครับ
    13

    2. ให้เราทำการเลือกดังภาพ
    Language to install : English
    Time : Thai(Thailand)
    Keyboard : US ให้เลือกเป็น US ก่อน
    Windows7_1

    3. จากนั้นให้ทำการกด Install now
    Windows7_2

    4. ให้เราเลือก OS ที่เราต้องการลง โดยจะ มีทั้ง x86(32bit) , x64(64bit) แนะนำว่าผู้ใช้ทั่วไปควรลง x86 และกด Next
    Windows7_3

    5. ยอมรับเงื่อนไข Lincene ของ windows 7
    - ให้เราทำการ ติ๊ก(√) I accept the license > Next
    Windows7_4

    6. เมื่อผู้อ่านลง Windows 7 ใหม่หรือลงครั้งแรกจากการซื้อคอมพิวเตอร์ ก็ให้เลือก Custom(advanced)
    Windows7_5

    7. ขั้นตอนนี้เราเราเลือก Drive ที่จะลง OS Windows7 ส่วนมาก จะลงใน Disk 0 นะครับ ก็คือ Drive C: ของ windows เรานั้นเอง อย่าลง ผิด Drive นะครับดูดีดี
    Windows7_6
    ************
    สำคัญ แต่สำหรับคนที่เคยลง windows 7 แล้ว หรือลง windows ตัวอื่นแล้วจะมาลง Windows 7 ใหม่ให้ทำขั้นตอนนี้ด้วยนะครับ
    ให้ไปที่ Drive options (advanced)
    windows7_15
    จาก นั้นให้เราเลือก Drive ที่เราเคยลง OS มาก่อน จากนั้นก็เลือก format ก่อนครับ จากนั้นก็เลือก Drive ที่เราจะลง OS จากนั้นก็กด Next


    windows7_16



    8. ขั้นตอนนี้ให้เรารอเวลาใน Install windows 7
    Windows7_7

    9. หลังจากนั้นให้เราใส่ชื่อ ผู้ใช้ อาทิเช่น ITITHAI จากนั้นก็กด Next
    Windows7_8

    10. Windows จะให้เราใส่ Password ในการ Login แต่ถ้าเราไม่ต้องการใส่ก็ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยครับ
    Windows7_9

    11. ขั้นตอนนี้ให้เราใส่ Product key ซึ่ง Product key จะอยู่ที่กล่อง ที่เราทำการซื้อ Windows 7 มาครับ
    Windows7_10

    12. ขั้นตอนนี้ให้เราเลือก Use recommended Setting เพื่อเป็นการ Update Patch windows ต่างๆ
    Windows7_11

    13. ให้เราเลือกเวลา Time Zone : UTC+07.00 Bangkok,Hanoi,Jakarta
    windows7_12

    14. ในหัวข้อนี้ถ้าเรายังไม่แน่ใจ ให้เราเลือก Public network (ตามที่Microsoft แนะนำ)
    Windows7_14

    15. จากนั้นเราก็จะได้ Window7 ที่หน้าตาที่สวยงาม ดังภาพ ครับ โชคดีในการลงนะครับ
    windows7-13

    16. ก็เป็นเสร็จสิ้นในการลง Windows 7 แล้ว เป็นไงละครับ ง่ายไหมครับ กับการลง Windows 7

    ใบงานที่3(1) (การติดตั้งwindows XP)

    การติดตั้ง WindowsXP    Professional


    การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยปกติ จะสามารถทำได้ 2 แบบคือ การติดตั้งโดยการอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม หรือทำการติดตั้งใหม่เลยทั้งหมด สำหรับตัวอย่างในที่นี้ จะขอแนะนำวิธีการ ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP แบบลงใหม่ทั้งหมด ซึ่งความเห็นส่วนตัว น่าจะมีปัญหาในการใช้งานน้อยกว่าแบบอัพเกรดค่ะ
    วิธีการติดตั้ง Windows XP ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
    1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย
    2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows XP Setup และทำการติดตั้ง
    3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ก่อนทำการติดตั้ง
    ในการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ แนะนำให้ทำการวางแผนประมาณขนาดพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย โดยทั่วไปก็ไม่ควรจะใช้พื้นที่ต่ำกว่า 3G. และเนื่องจากระบบ Windows XP สามารถที่จะสร้างเมนู Multi Boot ได้หลังจากที่ติดตั้งไปแล้ว โดยยังสามารถเลือกเมนูว่า จะเรียก Windows ตัวเดิมหรือจะเรียก Windows XP ก็ได้ ดังนั้น หลาย ๆ ท่านมักจะแบ่งพื้นที่ไว้ลง Windows 98 ที่ Drive C: ประมาณ 5G. และเผื่อไว้สำหรับ Windows XP ที่ Drive D: อีกประมาณ 5G. ที่เหลือก็จะเป็น Drive E: สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ ทั่วไป แต่ถ้าหากลง Windows เพียงแค่ตัวเดียว ก็ไม่จำเป็นค่ะ
    การตั้งค่าใน BIOS ก่อนทำการติดตั้ง Windows XP ใหม่จะต้องทำการ Disable Virus Protection ใน BIOS ซะก่อน เพราะว่าเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการป้องกัน Virus โดยการป้องกันการเขียนทับในส่วนของ Boot Area ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกตั้งค่านี้อยู่แล้ว ถ้าหากเครื่องของใครไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเมนบอร์ด บางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ วิธีการก็คือ
             เริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ขณะที่เครื่องกำลังทำ Memory Test หรือนับ RAM อยู่นั่นแหละ ด้านล่างซ้ายมือจะมีคำว่า Press DEL to enter SETUP ให้กดปุ่ม DEL บน Keyboard เพื่อเข้าสู่เมนูของ Bios Setup (แล้วแต่เมนบอร์ด ด้วยบางทีอาจจะใช้ปุ่มอื่น ๆ สำหรับการเข้า Bios Setup ก็ได้ลองดูให้ดี ๆ) จากนี้ก็แล้วแต่ว่าเครื่องของใคร จะขึ้นเมนูอย่างไร คงจะไม่เหมือนกันแต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จากนั้นให้มองหาเมนู Bios Features Setup ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่สอง ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลงมาแล้วกด ENTER ถ้าใช่จะมีเมนูของ Virus Warning หรือ Virus Protection อะไรทำนองนี้ ถ้าหากเป็น Enable อยู่ละก็ให้เปลี่ยนเป็น Disable โดยเลื่อนแถบแสงไปที่เมนูที่เราต้องการใช้ปุ่ม PageUp หรือ PageDown สำหรับเปลี่ยนค่าให้เป็น Disable
    กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลักของ Bios Setup มองหาเมนูของ SAVE TO CMOS AND EXIT หรืออะไรทำนองนี้เลื่อนแถบแสงไปเลยแล้วกด ENTER ถ้าหากเครื่องถามว่าจะ Save หรือไม่ก็ตอบ Y ได้เลย หลังจากนี้เครื่องจะทำการ Reboot ใหม่อีกครั้ง ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย
    มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันเลยค่ะ เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)

      ทำการปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีคะ ก็เคาะ Enter ไปทีนึงก่อน

      หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อทำการติดตั้งต่อไป 

      เลือกชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน แต่ถ้าจะใช้เป็น FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้ายได้เลย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก FAT32 นะคะ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

      หลังจากนั้น โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง (ให้ใส่แผ่นซีดีไว้ในเครื่องแบบนั้น แต่ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อบูตเครื่องใหม่ ปล่อยให้โปรแกรมทำงานไปเองได้เลยค่ะ)

      หลังจากบูตเครื่องมาคราวนี้ จะเริ่มเห็นหน้าตาของ Windows XP แล้วค่ะ รอสักครู่

     โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ก็รอไปเรื่อย ๆ ค่ะ

     จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next ไปเลยค่ะ ยังไม่ต้องตั้งค่าอะไรในช่วงนี้

     ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งาน ใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

     หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

    เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

    รอสักพัก จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP ครับ จากนั้น จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ

    บูตเครื่องใหม่คราวนี้ อาจจะมีเมนูแปลก ๆ แบบนี้ เป็นการเลือกว่า เราจะบูตจากระบบ Windows ตัวเก่าหรือจาก Windows XP ครับ ก็เลือกที่ Microsoft Windows XP Professional ครับ ถ้าของใครไม่มีเมนูนี้ก็ไม่เป็นไรนะคะ
     
    ริ่มต้นบูตเครื่อง เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP แล้วค่ะ
     
    ในครั้งแรก อาจจะมีการถามเรื่องของขนาดหน้าจอที่ใช้งาน กด OK เพื่อให้ระบบตั้งขนาดหน้าจอให้เราได้เลยค่ะ นอกจากนี้ ถ้าหากเครื่องไหนมีการถาม การติดตั้งค่าต่าง ๆ ก็กดเลือกที่ Next หรือ Later ไปก่อน บางครั้งอาจจะมีให้เราทำการสร้าง Username อย่างน้อย 1 ฃื่อก่อนเข้าใช้งาน ก็ใส่ชื่อของคุณเข้าไปได้เลย
     
    ที่มา : it-guides
      




    วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

    ใบงานที่2 (ประวัติของคอมพิวเตอร์)

    ประวัติคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์ (computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
    คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
    หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
    คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน
    คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

    ประเภทของคอมพิวเตอร์
    ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

    ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)

    ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

    เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)

    เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

    มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)

    มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

    ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)

    ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

    โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)

    โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ

    เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)

    เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา

    แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)

    แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม

    วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

    ใบงานที่1 (ศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์)

    คำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
    1. Mainframe (เมนเฟรม)เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถประมวลผลได้ด้วยความเร็วสูงเก็บข้อมูลได้มาก อุปกรณ์สนับสนุนก็มาก เช่น ตู้เทป ตู้จานแม่เหล็ก เครื่องพิมพ์อย่างละหลาย ๆ เครื่อง การทำงานต้องใช้กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องหรือโอเปอเรเตอร์ผู้ใช้จะต้องติดต่อผ่านโอเปอเรเตอร์หรือใช้เทอร์มินอลที่จัดไว้ให้เท่านั้น

    2. Minicomputer (มินิคอมพิวเตอร์)เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลงมาหน่อย ยังคงมีลักษณะคล้ายเมนเฟรม แต่ขีดความสามารถและอุปกรณ์สนับสนุนจะน้อยกว่า การใช้งานยังคงต้องมีโอเปอเรเตอร์หรือจัดเทอร์มินอลให้สำหรับผู้ใช้ ขนาดของมินิคอมพิวเตอร์มีได้ตั้งแต่ขนาดตั้งโต๊ะจนถึงขนาดตู้เอกสารขนาดเล็ก

    3. Microcomputer (ไมโครคอมพิวเตอร์)เป็นคำที่ใช้เรียกคอมพิวเตอร์ในช่วงกลางทศวรรษที่ 7 คำว่า "ไมโคร" มาจากคำว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ซึ่งเป็นชิพ (chip) เล็ก ๆ ทำหน้าที่เป็นซีพียูหรือสมองของคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเรามักจะเรียกไมโครคอมพิวเตอร์ว่า พีซี (PC-Personal Computer) นับตั้งแต่พีซีกลายมาเป็นดาวรุ่งในช่วงกลางของทศวรรษที่ 8 (ดูความหมายเพิ่มเติมจากศัพท์คำว่าพีซี)

    4. PC (พีซี)เป็นตัวย่อของ Personal Computer หมายภึงคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่สามารถใช้งานได้ทันทที (stand-alone) โดยผู้ใช้เพียงคนเดียว มีขนาดเล็กสามารถวางไว้บนโต๊ะได้ พีซี ยังหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับไมโคร

    5. Desktop PC (เดสก์ท็อปพีซี)เป็นชนิดของคอมพิวเตอร์ที่ไม่หนักจนเกินไป สามารถเคลื่อนย้ายได้มีขนาดเล็กใช้เนื้อที่เกินครึ่งของโต๊ะขนาดปกติ

    6. Portable PC (พอร์ตเทเบิลพีซี)เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมที่เราสามารถพกพาติดตัวคล้ายกระเป๋าเดินทาง บริษัทคอมแพ็ค (Compaq) เป็นบริษัทแรกที่สร้างพีซีชนิดพอททะเบิล มีน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม

    7. Laptop (แล็ปท็อป)เป็นคอมพิวเตอร์ที่เข้ามาแทนพีซีชนิดพอททะเบิล เนื่องจากรูปร่างบอบบางกว่า มีน้ำหนักไม่เกิด 5 กิโลกรัม พอที่จะวางไว้บนตักของเรา และทำงานได้อย่างสบาย ๆ

    8. Notebook computer (โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์)เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อม มีขนาดเท่ากับหนังสือตำราหรือแฟ้มเอกสารสำหรับกระดาษขนาดไม่เกิด A4 น้ำหนักของเครื่องจะอยู่ระหว่าง 15-25 กิโลกรัม เหมาะสำหรับพกพาเพื่อทำงานขณะเดินทาง หรือใช้ทำงานเมื่ออยู่นอกสถานที่สามารถใช้ได้กับไฟกระแสตรง (ดีซี-DC) และไฟกระแสสลับ (เอซี-AC)

    9. Workstation (เวิร์กสเตชัน)เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงคอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถสูง มักจะใช้จัดการกับงานประยุกต์ทางด้านวิทยาศาสตร์, งานวิศวกรรม เช่น งานทางด้านออกแบบ CAD (Computer-Aided Design) และงานทางด้านกราฟิก จอภาพของเวอร์กสเตชันจะต้องมีความละเอียดสูง (high-resolution) ขนาดของหน่วยความจำหลักจะมีมากกว่าคอมพิวเตอร์ระดับพีซีตั้งแต่ 4-250 เท่า โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบ มักจะใช้ยูนิกซ์

    10. Bit (บิต)เป็นตัวย่อของคำว่า "Binary Digit" มีค่าได้เพียง "1" หรือ "0" คำว่า "บิต& quot;มักจะใช้วัดความสามารถของไมโครโปรเซสเซอร์ในการประมวลผลข้อมูล เช่น 16 บิต, 32 บิต

    11. การ์ดจอ
    อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจัดการให้เกิดการแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์

    12. Keyboard (คีย์บอร์ดหรือแป้นพิมพ์)
    อุปกรณ์ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ในรูปแบบของการพิมพ์

    13. Combo-Drive (คอมโบไดรว์)
    อุปกรณ์สำหรับอ่าน/เขียนแผ่น CD แต่ไม่รองรับการเขียนแผ่น DVD แต่อ่านแผ่น DVD ได้

    14. Computer Case (คอมพิวเตอร์เคส)
    ตัวเครื่องที่หุ้มห่อชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์

    15. Printer (พริ้นท์เตอร์)
    อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับพิมพ์งานจากคอมพิวเตอร์ออกมาทางกระดาษ เครื่องพิมพ์มีหลายชนิดได้แก่ เลเซอร์, หัวเข็ม, แบบพ่นหมึก เป็นต้น

    16. Software (ซอร์ฟแวร์)
    โปรแกรมในการใช้งาน เพื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง


    17. CD-ROM Drive
    (ซีดีรอมไดรว์)
    อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่าน/เขียนแผ่น CD/DVD ทั้งนี้ขึ้นกับรุ่นที่ใช้งานว่ารองรับการอ่าน/เขียนแผ่น CD ประเภทไหนบ้าง

    18. CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์)
    จอภาพประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณ์เหมือนจอโทรทัศน์รุ่นเก่า

    19. CPU (ซีพียู)
    หน่วยความผล หรือสมองของคอมพิวเตอร์

    20. Port (พอร์ต)
    ช่องทางสื่อสารของคอมพิวเตอร์ พอร์ตมีหลายอย่างเช่น Serial Port, Parallel Port, USB Port เป็นต้น

    21. Power Supply (พาวเวอร์ซัฟฟลาย)
    อุปกรณ์ในการควบคุมและจ่ายกระแสไฟภายในคอมพิวเตอร์


    22. Flash Drive
    (แฟลชไดรฟ์)
    อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบแฟลช แบบเคลื่อนย้ายได้ มีขนาดเล็ก พกพาได้สะดวก เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ต USB

    23. Mouse (เม้าส์)
    อุปกรณ์ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ในรูปแบบของการคลิก

    24. Mainboard / Masterboard (เมนบอร์ด/มาสเตอร์บอร์ด)
    อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ทุกชิ้นของคอมพิวเตอร์

    25. UPS (ยูพีเอส)
    อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันไฟฟ้าดับ มีแบตเตอรี่ในตัว ในเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ

    26. USB (ยูเอสบี)
    ช่องทางการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ กับคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้งานมากที่สุด

    27. Scanner (สแกนเนอร์)
    อุปกรณ์ในการสแกนภาพจากสิ่งต่างๆ เข้าไปเก็บในคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของไฟล์ (คล้ายการถ่ายภาพ)

    28. Web Cam (เว็บแคม)
    เป็นอุปกรณ์ในการสื่อสารในรูปแบบวีดีโอ สามารถสื่อสารผ่านทางอินเตอร์เน็ตแบบเห็นภาพเคลื่อนไหวได้


    29. RAM (แรม)
    หน่วยความจำที่ใช้สำหรับการประมวลผลข้อมูล

    30. LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์)
    จอภาพประเภท แอลซีดี มีขนาดบาง ประหยัดพลังงาน

    31. Hard disk (ฮาร์ดดิสก์)
    อุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์

    32. Hardware (ฮาร์ดแวร์)
    อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนทั้งหมดของคอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้ รวมทั้งภายนอกและภายในตัวเครื่องด้วย

    33. Podcast (พ็อดคาสต์)
    คือการบันทึกเสียงหรือการนำไฟล์เสียงขึ้นไปเก็บบนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดมาฟัง
    ไฟล์เสียงที่ถูกเก็บไว้ในพ็อดคาสต์ไม่จำเป็นต้องเป็นไฟล์เพลงเสมอไป เจ้าของเว็บไซต์สามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ยวกับเสียง หรืออาจทำในรูปแบบ Audio Weblog
    หรือเว็บล็อกที่ใช้เสียงพูดแทนตัวหนังสือ

    34. file conversion (ไฟล์ คอนเวอร์ชั่น)
    กระบวนการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปสู่อีกรูปแบบหนึ่ง โดยไม่ทำให้สาระของข้อมูลเสียหายตัวอย่างเช่น เปลี่ยนแฟ้มข้อมูลจากรูปแบบของ word processorไปสู่รูปแบบของ ASCII โดยไม่ทำให้ความหมายของข้อมูลนั้นเปลี่ยนไป

    35. file format (ไฟล์ ฟอร์แมต)
    รูปแบบหรือโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ซึ่งถูกกำหนดไว้ในขณะที่มันถูกเก็บไว้และขณะที่มันถูกแสดงออกมาทางจอภาพ หรือถูกพิมพ์ออกมาเป็นฮาร์ดก๊อบปี้

    36. file manager (ไฟล์ เมเนเจอร์)
    รูปแบบของระบบปฏิบัติงาน (operating system)หรือรูปแบบของ environment ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมแห่งรวมแฟ้มโปรแกรมและการเข้าถึงโปรแกรมเหล่านั้น

    37. garbage in, garbage out (การ์เบจอิน,การ์เบจเอาท์)
    มักใช้เป็นคำย่อว่า GIGO เป็นคำกล่าวที่เป็นจริงทางคอมพิวเตอร์โดยอาศัยหลักตรรกะที่เป็นจริงว่า ถ้าข้อมูลที่ผิดๆไม่ถูกต้องใส่เข้าไปในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็จะผิดพลาดด้วย

    38. gateway (เกทเวย์)
    เครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับต่อเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีลักษณะแตกต่างกันเข้าด้วยกัน นั่นคือ gatewayสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายซึ่งใช้โปรโคโคล (protocol)ในการสื่อสารแตกต่างกันเข้าด้วยกันได้ ทำให้สามารถส่งข่าวสาร (message)สารสนเทศ (Information) และข้อมูล (data)ผ่านจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่งได้

    39. graphic mode (กราฟิก โหมด)
    ลักษณะการทำงานแบบกราฟฟิก ในคอมพิวเตอร์ PCของ IBM ได้แก่ ได้แก่การทำงานที่แสดงออกมาเป็นภาพเส้นและตัวอักษรบนจอภาพ graphic modeสร้างภาพโดยวิธีใช้จุด pixel แต่ละจุดมาต่อเรียงกันเพื่อสร้างเป็นภาพ

    40. hidden file (ฮิดเดน ไฟล์)
    แฟ้มข้อมูล ซึ่งไม่ปรากฎชื่อในรายชื่อแฟ้มข้อมูลตามปกติในไดเรกทรอรี่ เหตุที่แฟ้มข้อมูลไม่ปรากฎรายชื่ออยู่ในรายชื่อแฟ้มข้อมูล ก็เพื่อป้องกันการแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือลบออก

    41. import (อิมพอร์ต)
    การนำเอาเอกสารสารสนเทศจากที่อื่นระบบอื่น หรือโปรแกรมอื่น มาสู่คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้

    42. index search (อินเดกซ์ เสิร์ช)
    การค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำ หรือในคลังข้อมูล โดยวิธีใช้ดรรชนี (index)

    43. clone (โคลน)
    สิ่งที่ทำขึ้นให้เหมือนกับของเดิมหรือเหมือนกับต้นฉบับ หรือต้นแบบ นำมาใช้ในไมโครคอมพิวเตอรหมายถึงคอมพิวเตอร์ที่ทำขึ้นให้เหมือนต้นแบบ เช่น IBM cloneคือคอมพิวเตอร์อื่นที่ทำขึ้นให้มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมือนคอมพิวเตอร์ IBM

    44. default (ดีฟอล์ต)
    ค่าที่กำหนดไว้แล้วในคอมพิวเตอร์ เป็นค่าที่ผู้ใช้นำไปใช้ได้เลยแต่ถ้าผู้ใช้ไม่ชอบค่าที่กำหนดไว้นี้ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตัวอย่าง default เช่น โปรแกรม word processor กำหนดลักษณะของหน้าเอกสารไว้ว่า เป็นแบบ single space (เว้นบรรทัดเดียว) ย่อหน้าเท่ากับ 0.5 นิ้วเว้นขอบกระดาษข้างบน 1 นิ้ว ข้างล่าง 1 นิ้ว ข้างขวาและข้างซ้ายอย่างละ 1.25 นิ้วเมื่อมีผู้ใช้ word processor ถ้าไม่กำหนดค่า default ใหม่ ค่า default ที่กำหนดไว้นี้ก็จะทำหน้าที่ เมื่อเอกสารถูกพิมพ์ออกมา เอกสารก็จะมีลักษณะดังกล่าวแล้ว

    45. edit mode (อีดิท โหมด)
    วิธีการปฏิบัติงานด้านการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแฟ้มข้อมูลหรือเอกสาร เช่น การแทรกตัวอักษร การลบเนื้อเรื่องของสารสนเทศ เป็นต้น

    46. application software (แอพพลิเคชั่น ซอฟท์แวร์)
    โปรแกรมปฏิบัติการ เป็นโปรแกรม หรือซอฟแวร์ที่ทำหน้าที่แทนคนในด้านใดด้านหนึ่งโปรแกรมปฏิบัติการแตกต่างจาก operating system ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ; ซอฟแวร์ปฏิบัติการ

    47. arrow key (แอร์โรว คีย์)
    แป้นคีย์ที่มีรูปลูกศรอยู่ข้างบนชุดหนึ่งมี 4 แป้น คือ แป้นที่มีลูกศรชีขึ้น ชี้ลง ชี้ไปทางซ้าย และชี้ไปทางขวาเอกดแป้นเหล่านี้จะทำให้เคอร์เซอร์เลื่อนไปตามทิศทางของลูกศรบนแป้น



    48. Analog (อะนาล็อก)การเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางกายภาพที่ต่อเนื่องกันไปเช่นการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าขึ้น-ลงในวงจรไฟฟ้า เป็นต้น

    49. Asterisk (แอสเทอริสก์)
    เครื่องหมายดอกจัน ( * ) เครื่องหมายดอกจันมีใช้อยู่ในระบบปฏิบัติการและระบบโปรแกรมโดยทั่วไปในความหมายว่า คูณ (x) เช่น 4*5 หมายความว่า 4x5 เป็นต้น ใน MS-DOS, OS/2 และใน operating system อื่นๆเครื่องหมายดอกจันเป็น wilecard อย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้ในด้านต่างๆ เช่น * * หมายความว่า เป็นการรวมกลุ่มชื่อแฟ้มข้อมูลและแฟ้มข้อมูลเพิ่มเติม

    50. Capacity (แคแพคซิตี้)
    สมรรถนะ ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงปริมาณของสารสนเทศซึ่งคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลสามารถประมวลผลหรือเก็บไว้ได้ เช่น แผ่นดิสก์สามารถเก็บตัวอักษรได้จำนวนกี่ไบต์นั่นเป็นสมรรถนะ (capacity) ของแผ่นดิสก์นั้น